วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคสมองเสื่อม หรือ Alzheimer

โรคสมองเสื่อม (Alzheimer)
บทความโดย ปาณิสรา จันทร์นวล ม.6/2 เลขที่ 27


ทุกท่านคงเคยได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่จะรู้จักมากน้อยแค่ไหน  เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้สักหน่อยดีไหม ??


   อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุดโดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมอง ทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด  ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี

  ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการ ประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด  การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏ อาการชัดเจน การคาดหมายคงชีพหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย


สาเหตุของโรค 

1. จากความผิดปกติในเนื้อสมองจะพบลักษณะที่สำคัญสองอย่างคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน Neurofibrillary Tangles.และมีสาร Beta Amyloid ในสมอง ใยสมองที่พันกันทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง การที่สมองมีคราบ Beta Amyloid หุ้มทำระดับ acetylcholine สมองลดลงสาร acetylcholine จะมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำ

2. การอักเสบ inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง

3. กรรมพันธุ์ โรค Alzheimer ทีเกิด late onset จะมีการเพิ่มของ gene ที่ควบคุมการสร้าง apolipoprotein E4 (ApoE 4) ส่วนที่เกิด early onset จะมีการเปลี่ยนแปลงของ gene presenilin-1 (PS1) และ presenelin-2 (PS2) 


อาการเด่นของโรคอัลไซเมอร์ ก็คือ ความจำเสื่อมหรือ หลงลืม เรื่องที่ลืมก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา  หรือใครมาพบวันนี้ ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ ชอบพูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ เพราะจำคำตอบไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการพูดและการใช้ภาษา คือจะคิดคำศัพท์บางคำไม่ออก ใช้คำใกล้เคียงแทน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดลดลง ทักษะต่างๆ จะเริ่มสูญไป อารมณ์หงุดหงิด และอาจท้อแท้ เพราะอาการดังกล่าว


ปัจจัยเสี่ยง

1. อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้

2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น 

3. เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์


ยากับโรคอัลไซเมอร์ 
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เริ่มมีความสำคัญ ในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนมี โอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่า และเป็นโรคช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยานี้

ยากลุ่มต้านการอักเสบที่เรียกว่า NSAID ก็พบว่า อาจมีบทบาทลดอุบัติการณ์ของโรค เนื่องจากพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์มีประวัติใช้ยากลุ่มนี้น้อยกว่าผู้ ที่ไม่ได้เป็น นอกจากนี้ยาหรือสารต้านอ๊อกซิแดนท์ต่างๆ เช่น วิตามิน C และ E รวมถึงใบแปะก๊วย (gingo bibloa) ก็กำลังอยู่ในความสนใจ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจจะช่วยหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ 

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปริมาณเซลล์สมองลดลง และสารสื่อประสาท อะเซติลโคลีนลดลงด้วย สารสื่อประสาทนี้เป็นตัวเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ ของเซลล์สมองที่ควบคุมด้านความจำ ความคิดอ่านและพฤติกรรมต่างๆ เมื่อสารอะเซติลโคลีนลดลง จึงทำให้เกิดอาการต่างๆของโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันมียาที่ช่วยเพิ่มปริมาณของสารอะเซติลโคลีนในสมอง โดยออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์อะเซติลโคลีนเอสเตอเรสที่ย่อยสลายอะเซติลโคลีน ยานี้จึงช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอาการดีขึ้นได้ และชลอการทรุดลงของโรคถ้าได้ใช้ในระยะเริ่มแรก แต่จะไม่ทำให้โรคหายขาด  


การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจ ว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด เช่น ถ้าคุยอะไรแล้วผู้ป่วยนึกไม่ค่อยออกหรือจำไม่ได้ ควรเปลี่ยนเรื่อง เอาเรื่องที่คุยแล้วมีความสุข ผู้ป่วยไม่สามารถคิดเลขได้ ไม่สามารถเล่นดนตรีแต่สามารถร้องเพลงพร้อมกับวิทยุ เล่นหมากรุกไม่ได้ แต่สามารถเล่นเทนนีสได้ หรือถ้ามีความคิดอะไรผิดๆ ไม่ควรเถียงตรงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อาจไม่ต้องอธิบายมาก เนื่องจากจะทำให้หงุดหงิด และหมดความมั่นใจ ควรจัดห้องหรือบ้านให้น่าอยู่ สดใส ใช้สีสว่างๆ ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจใช้การพาดเสื้อผ้า ไว้ที่ลูกบิดประตูเพื่อไม่ให้เห็นลูกบิด ต้องเก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาวล์เตาแก๊สไว้เสมอ เป็นต้น
ในรายที่มีอาการที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าวมาก เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือ เดินออกนอกบ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ระบบประสาท เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดอาการดังกล่าว


 สรุปข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ! 

1. อัลไซเมอร์เป็นโรค ไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ หรือตามอายุที่มากขึ้น
2. สาเหตุยังไม่ทราบชัด แต่น่าจะมีส่วนจากพันธุกรรม อาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ดังนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน
3. ขณะนี้ ยังไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
4. การดูแล ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย
5. ถ้ามีญาติที่เริ่มมีอาการหลงลืม ควรพบแพทย์ระบบประสาท อาจเป็นสาเหตุอื่นที่รักษาหายขาดได้
6. โรคนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้ที่รู้สึกว่าหลงลืมบ่อยโดยที่อายุไม่มาก (20-50 ปี) มักเกิดจากสาเหตุอื่น ส่วนมากเกิดจากการพักผ่อนไม่พอ เครียด ไม่มีสมาธิ ควรแก้ไขสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ดีขึ้นค่อยปรึกษาแพทย์ เพราะมักเป็นสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้
7. เนื่องจากยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอน การวินิจฉัยจะอาศัยหลัก 3 ประการ
  - มีอาการสมองเสื่อม อาการจะเริ่มจากความจำเสื่อม การเรียนรู้เสียไป
  - อาการของโรคจะดำเนินต่อเนื่อง ไม่หาย
   - ต้องแยกภาวะหรือโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม
8. ไม่ควรกลัวโรคนี้จนเกินไป เนื่องจากขณะนี้มีการวิจัยเรื่องนี้มากมายทั่วโลก เชื่อว่าอีกไม่นานนัก อาจมียาที่รักษาหรือป้องกันได้
9. ในทางการแพทย์ ยังไม่แนะนำให้ทานยาใดๆเพื่อป้องกัน เพราะมักไม่ได้ผล และยาหรือสมุนไพรหรืออาหารเสริมเหล่านี้ส่วนมากมีราคาแพง และมักโฆษณาเกินความจริง
 
 


  

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย คืออะไร ?

   ความรู้ความคิด ความเชื่อที่กลมกลืนกับวิถีชีวิตแบบไทยนั้น ล้วนมาจากบรรพบุรุษไทยที่ท่านได้ถ่ายทอดมาสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน เช่น การสร้างเรือนได้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ตลอดจนอาหารไทย สมุนไพร การนวดแผนไทย อักษรไทย การร่ายรำ เพลงกล่ิอมเด็กที้เป็นเอกลักษณ์ ฯลฯ สิ่งเหล่านีี้เป็นวัฒนธรรมสืบทอดมาจนปัจจุบัน เป็นที่รู้จักของชาวโลก อันเป็นความชาญฉลาดในการสร้างสรรค์งานที่เราเรียกว่า ภูมิปัญาไทย

มนุษย์ได้เลือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย ทำมาหากินมาเป็นเวลาช้านาน
ได้เรียนรู้ พร้อมทั้งสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เหมาะสม อันนเนื่องมาจากการปรับตัว ได้สั่งสม ปรับเปลี่ยน
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน สิ่งเหล่านี้เจึงเป็นภูมิปัญญาของไทยที่ได้สั่งสม สืบทอดเป็นมรดก เพื่อใช้ใน
การดำเนินชีวิตจนถึงทุกวันนี้



ความหมายของคำว่า ภูมิปัญญา และคำที่เกี่ยวข้อง
  ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง พื้นความรู้ความสามารถ นอกจากนี้ ยังมีคำที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาหลากหลาย อาทิเช่นภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญา ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้ทรงคุณภูมิปัญาไทย และ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น 


ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา เก็บรวบรวมความรู้
และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย


   ประเภทของภูมิปัญญา
         
 

   ภูมิปัํญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น
       

 1. ภูมิปัญญาระดับชาติ เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
เช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจึุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม             
 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข



    ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
         ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
 
1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief) และพฤติกรรม (Behavior)
 2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับ
สิ่งเหนือธรรมชาติ
 3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
 4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอด
ของบุคคล ชุมชน และสังคม
 5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
 6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
 7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา


   คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญญาไทย
      

 1. เป็นผู้มีคุณธรรม ได้การยอมรับจากบุคคลทั่วไป มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาชีพ การพัฒนา
ท้องถิ่น และเป็นผู้ใช้หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต
 2. ขยันหมั่นเพรียร ไฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ได้ลงมือทอลองทำตามสิ่งที่ได้ศึกษา จนประสบความสำเร็จ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ชัดเจน ไปปรับปรุงใช้ในชุมชนสังคมอยู่เสมอ
 
3. เป็นผู้นำท้องถิ่น คนในสังคมให้การยอมรับยกย่องนับถือ ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นอย่างดี สนใจแก้ไข
ปัญหาท้แองถิ่น หาทางช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างดี
 4. เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น ทำให้คนในท้องถิ่นเกิดความรัก ความเข้าใจ
ความเห็นอกเห็นใจ และมีความสามัคคี ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นหรือสังคมมีความเจริญ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้คนในท้องถิ่นผลฃิตผลงานที่มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับ
 5. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ เป็นวิทยากรรับเชิญไปภายนอก หรือมีประชาชนเข้ามาชม
ผลงาน และถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจเป็นอย่างดี
 6. เป็นผู้มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ ได้รับการยกย่อง สามารถสร้างผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จนได้รับการยอมรับจากสาธารณชน 






 
สาขาภูมิปัญญาไทย
        การกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่าง ๆโดยภาพรวมภูมิปัญญา
ไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขา ดังนี้
    
   1. สาขาเกษตร
        2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
       
 3. สาขาแพทย์แผนไทย
        4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        5. สาขาภาษาและวรรณกรรม
        6. สาขาศิลปกรรม
        7. ศาสนาและประเพณี
        8. สาขาการจัดการองค์กร
        9. สาขาสวัสดิการ
        10. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน


ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
          คุณค่าของภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากบรรพบุรุษุที่ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ให้ชาติบ้านเมือง มีการดำรงชีวิตที่อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจเพื่อสืบสานไปสู่อานาคต สรุปความสำคัญได้ดังนี้
     1. สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน
     2. สร้างความภาคภูมิใจ และเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของความเป็นไทย
         มวยไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ปัจจุบันมีค่ายมวยอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
         ภาษาและวรรณกรรม ช่ไทยมีภาษาผูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง วรรณกรรมเป็นที่รู้จัก
มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สุนทรภู่เป็นนักปราชญ์ทางวรรณกรรมบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจาก
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒฯธรรมแห่งประชาชาติื (ยูเนสโก) เป็นกวีเอกของโลก
         อาหารไทย เป็นอาหารที่ชาวต่างชาติชื่นชอบและรู้จักกันแพร่หลาย อาทิเช่น ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ เป็นต้น
         สมุนไพรไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาประเทศ จนบาง ประเทศนำสมุนไพรไทยไปจดเป็น
ลิขสิทธิ์ของตนเอง
     3. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ทำให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน ให้อภัยกัน
     4. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต เช่น อาหารไทย มักเป็นอาาหาร หวาน มันมีกะทิเป็น
ส่วนประกอบ หากรัปทานมากก็จะทำให้เกิดท้องอืดได้ ดังนั้น จึงมีการนำพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูดมาใส่เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
     5. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย
ในยุคสมัย ได้มีการพัฒนาไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น คนในสมัยก่อนใช้เรือพาย เป็นพาหนะในการเดินทาง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์แทนทำให้การเดินทางรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาการเดินทาง
ให้หลากหลาย
วิธีมาก เช่นรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟใต้ดิน เป็นต้น


  
  ภูมิปัญญาไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน 
        
   ทุกชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวได้ดำเนินขึ้นและสืบทอดโดยคน รุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชน เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การสร้างบ้านเรือน รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค ซึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน โรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพร การนวดไทยเพื่อบำบัด บรรเทาการเจ็บป่วย การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือการอยู่ไฟเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของผู้หญิงหลังคลอดบุตร เป็นต้น
        
   ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางการแพทย์ของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยัง ช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดการนำเข้ายารักษาโรค เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศที่เกินความจำเป็นให้ลดน้อยลง ซึ่งผลดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนไทยในชุมชนหรือท้องถิ่นต่างๆ รู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการรักษาดูแลสุขภาพ รวมถึงการพึ่งพาภูมมิปัญญาของแพทย์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

   ภูมิปัญญาไทยด้านสุขอนามัย
         ประวัติการแพทย์แผนไทย พอสรุปเป็นลำดับได้ดังนี้
          - สมัยอยุธยา การแพทย์แผนไทยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีการรวบรวมตำรับยาขึ้นเป็นครั้งแรก
         - สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้มี
การรวบรวมและ จารึกตำรายา ตำราการนวดตามศาลาราย มีรูปฤาษีดัดตนในบริเวณวัด
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบรมราชโชองการให้ผู้มีความรู้เรื่องสรรพคุณยา และผู้ชำนาญการรักษาโรค และผู้มีตำรายาเข้ามาถวาย โดยให้หมอหลวงพิจารณาคัดเลือก
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
         
         แนวทางการปฏิบัติ ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาด้านสุขอนามัย มีอยู่ 3 แนวทาง คือ
         1. ภูมิปัญญาด้านเภสัช
         2. ภูมิปัญญาด้านเวชกรรมไทย
         3. ภูมิปัญญาด้านการนวดแผนโบราณ

 การแพทย์แผนไทย เป็นการรวมศาสตร์เกี่ยวกับบำบัดโรค ทั้งการใช้ยาสมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกและโครงสร้าง โดยอิงกับความ เชื่อทางสังคม วัฒนธรรม และธรรมชาติ เป็นความรู้ที่ไม่มีเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับหมอรักษาวิธีใดได้ผลก็ใช้วิธีนั้นสืบต่อกันมา

       
การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น
การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
1.  การนวดแบบราชสำนัก
2.  การนวดแบบเชลยศักดิ์
การนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท  และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง เป็นต้น


กระประคบสมุนไพร
เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้


น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ
น้ำ สมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ


การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค
เป็น วิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ


กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน
เป็น ภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้



ปาณิสรา จันทร์นวล ม.6/2  เลขที่ 27


วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สุขศึกษา ม.6

ตอนที่ 1 กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ

ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์ มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันเป็นจำนวนนับล้านๆ กลุ่มเซลล์ที่รวมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่างเรียกว่าเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เมื่อรวมกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า อวัยวะ อวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ ที่สำคัญต่างๆในร่างกาย
 1.1  ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1.     รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2.     บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
3.     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.     พักผ่อนให้เพียงพอ
5.     ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6.     หลีกเลี่ยงอบายุมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.     ตรวจเช็คร่างกาย
1.2  ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบไปด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน รวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่าง องค์ประกอบของประบบประสาท
1.     ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบไปด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง(spinal cord) สมอง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์แมตเตอร์ สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
ส่วนไขสันหลังนั้นจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้ม ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflex action)
2.     ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system) ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ
 1.3  ระบบสืบพันธ์ (Reproductive System)
ระบบสืบพันธ์เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
1.3.1    อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1.     อัณฑะ (testis) ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมนเพศชาย
2.     ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการส้รางตัวอสุจิ
3.     หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis) ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ
4.     หลอดนำตัวอสุจิ (vas deferens) ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บที่ต่อมน้ำเลี้ยงอสุจิ
5.     ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ
6.     ต่อมลูกหมาก (prostate gland)  ทำหน้าที่หลั่งสารที่มี่ฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ
7.     ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glands) ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
1.3.2    อวัยวะสืบพันธุ์
1.     รังไข่ (Ovary) รูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
2.     ท่อนำไข่ (Oviduct) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
3.     มดลูก (Uterus) เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4.     ช่องคลอด (Vagina) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้ามดลูก
  1.4  ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) เป็นระบบที่ผลิตสารเรียกว่าฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิดจึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ
ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
1.     ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูกและสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ
2.     ต่อมหมวกไต (adrenal gland) สร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน สร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาอาหาร
3.     ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin)
4.     ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด
5.     ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน
6.     รังไข่ (Ovary)ในเพศหญิง และอัณฑะ (Testis)ในเพศชาย
7.     ต่อมไทมัส (Thymus gland) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย


                                                                                     ปาณิสรา จันทร์นวล ม.6/2 เลขที่ 27



ประวัติความเป็นมาของ  "กีฬาลีลาศ" และ สหพันธ์กีฬาลีลาศแห่งทวีปเอเชีย (ADSF) 

        การลีลาศ หรือ การเต้นรำ ถือเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในแต่ละประเทศจะมีจังหวะการเต้นรำของตัวเอง
          
         ต่อมาได้มีการ รวบรวมการเต้นรำจากหลายประเทศ มาวางรูปแบบให้เป็นมาตรฐาน และแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ Standard และ Latin American ซึ่งมีการใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะในทวีปยุโรป และมีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อบริหารจัดการในระดับนานาชาติ ที่สำคัญแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม WD&DSC ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นครูลีลาศและนักลีลาศอาชีพ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนกลุ่ม IDSF ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักลีลาศสมัครเล่น มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์
         ในปี 1991 ได้มีกลุ่มนักธุรกิจนำโดย นายจรัญ เจียรวนนท์ ได้รวบรวมกลุ่มนักธุรกิจ ก่อตั้งสมาคมลีลาศสมัครเล่นประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศ โดยมีนายสุชัย เพียรพัฒนางกูร เป็นอุปนายกดูแลงานด้านการต่างประเทศ และได้เข้าเป็นสมาชิกของ IDSF ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ หลังจากเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติหลายครั้ง จึงได้ทราบว่า วิธีเดียวที่จะส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศให้สำเร็จ คือ จะต้องผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรองว่าการลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากมีการออกกำลังกายจำนวนมาก ยื่นขอให้โอลิมปิกสากลรับรอง และการจะให้โอลิมปิกสากลรับรอง ก็มีเงื่อนไขมากมาย
         หลังจากการ ประชุมระดับนานาชาติแล้ว ทางอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ ก็ได้เริ่มทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลีลาศ รวมทั้งการเดินทางไปในหลายประเทศ ที่เป็นต้นกำเนิดของจังหวะการลีลาศ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ประเทศบราซิล และประเทศออสเตรีย จึงทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น จากนั้น ก็ได้หาข้อมูลว่าโอลิมปิกสากลมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หลังจากศึกษารายละเอียดแล้วสรุปได้ว่า มีเงื่อนไขที่สำคัญมากอยู่ 2 ประการคือ

         1.
ต้องเป็นสิ่งที่แพร่หลายในหลายทวีปทั่วโลก ไม่ใช่แพร่หลายเฉพาะในทวีปยุโรป
         2.
ต้องมีองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว สามารถจัดการควบคุมองค์กรสมาชิกได้ทั่วโลก ไม่ใช่มี 2 องค์กร และขัดแย้งกันมาก เช่น IDSF และ WD&DSC
         
            ทางอุปนายกฝ่าย ต่างประเทศ จึงได้มีแนวความคิดว่า การลีลาศแพร่หลายมากเฉพาะในทวีปยุโรป IDSF และ WD&DSC ต่างก็ขัดแย้งกันมาก ซึ่งผิดเงื่อนไขของโอลิมปิกสากล จึงไม่มีทางที่โอลิมปิกสากลจะให้การรับรอง แต่ถ้าสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น และกระจายไปในทุกทวีปทั่วโลก จะทำให้มีความสามารถในการผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรอง IDSF ได้ง่ายขึ้น
         ในปี 1994 นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้ติดต่อหารือกับประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน ถึงแนวความคิดที่จะก่อตั้ง สหพันธ์กีฬาลีลาศแห่งทวีปเอเชีย (ADSF) ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเห็นด้วย และมีการปรึกษาหารือกันหลายครั้งในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และฝรั่งเศส เพื่อทำความเข้าใจและขอเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกทั่วโลก ในการก่อตั้ง ADSF ซึ่งมีอุปสรรคปัญหามากมาย รวมทั้งการแก่งแย่งกันเป็นผู้นำในทวีปเอเชีย และการไม่ต้องการให้มีการแยกตัวไปตั้ง ADSF จึงต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ในการประชุมหลายประเทศ จนได้รับการอนุมัติจากการประชุม IDSF ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้งสำเร็จในการประชุมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี ในปี 1996 และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม ต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก ทางประเทศสมาชิกจึงสนับสนุนให้ นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร ขึ้นเป็นประธานก่อตั้งของ ADSF
         หลังจากนั้น จึงได้เริ่มเพิ่มจำนวนสมาชิกอีกหลายสิบประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย และทวีปอื่นๆทั่วโลก ขณะเดียวกัน ADSF ก็เริ่มวางกฎระเบียบการแข่งขัน การฝึกอบรมกรรมการตัดสินให้เป็นมาตรฐาน และติดต่อประสานงาน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกของโอลิมปิกคอมมิตี้เอเชีย (OCA) โดยได้รับความสนับสนุนและร่วมมือเต็มที่จาก MR.WEI JI ZHONG จึงทำให้ ADSF มีความเข้มแข็งมากในทวีปเอเชีย และได้ร่วมมือกับ IDSF ในการผลักดันให้ IOC รับรอง แต่ยังติดปัญหาการคัดค้านจาก WD&DSC นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เสนอในที่ประชุม IDSF ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ให้ WD&DSC เข้าเป็น Associate Member หรือสมาชิกร่วม เพื่อให้ IOC รับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่ง WD&DSC เห็นด้วย
         นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เริ่มขอเสียงสนับสนุนจาก IOC Member ในทวีปเอเชีย ไปรวมกับเสียงของ IOC Member ในทวีปยุโรป ให้การสนับสนุนลีลาศเป็นกีฬา โดยมี IDSF เป็นองค์กรหลักในการควบคุม ซึ่งประสพความสำเร็จในที่ประชุม IOC เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต้นปี 1998
         ต่อมาได้รับทราบ จาก IOC Member ในทวีปยุโรปว่า ถึงแม้จะได้รับการรับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง แต่อย่าหวังจะได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เนื่องจาก IOC มีนโยบายจะลดจำนวนประเภทกีฬา และยังมีกีฬาจำนวนมากที่ขอเข้าแข่งขัน แต่ไม่ได้รับการพิจารณา
         นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงมีความคิดว่า ถ้าวันนี้ไม่มีโอกาส การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอนาคตคงจะยาก จึงมีความคิดว่า ถ้าสามารถผลักดันให้เข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ หรือกีฬาโอลิมปิกของทวีปเอเชียไว้เป็นพื้นฐานอนาคต ถ้าโอลิมปิกสากล IOC มีนโยบายเพิ่มประเภทกีฬา ก็จะสามารถบรรจุเข้าแข่งขันได้เลย จากนั้น จึงได้เริ่ม Lobby IOC Member ในทวีปเอเชีย ให้สนับสนุนกีฬาลีลาศเข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ จนกระทั่งประสพความสำเร็จ OCA อนุมัติให้กีฬาลีลาศบรรจุเข้าเป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เมื่อปลายปี 1998 ที่กรุงเทพฯ
         สหพันธ์กีฬา ลีลาศนานาชาติ (IDSF) ได้ประกาศว่า เป็นครั้งแรกในโลกที่กีฬาลีลาศ ได้รับการบรรจุเข้าแข่งขัน ในการแข่งขันของกลุ่มโอลิมปิกสากล ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กีฬาลีลาศ มีโอกาสบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในอนาคต

                                                                                                      ปาณิสรา จันทร์นวล ม.6/2 เลขที่ 27