วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สุขศึกษา ม.6

ตอนที่ 1 กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ

ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์ มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันเป็นจำนวนนับล้านๆ กลุ่มเซลล์ที่รวมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่างเรียกว่าเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เมื่อรวมกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า อวัยวะ อวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ ที่สำคัญต่างๆในร่างกาย
 1.1  ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1.     รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2.     บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
3.     ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.     พักผ่อนให้เพียงพอ
5.     ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6.     หลีกเลี่ยงอบายุมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7.     ตรวจเช็คร่างกาย
1.2  ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบไปด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน รวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่าง องค์ประกอบของประบบประสาท
1.     ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบไปด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง(spinal cord) สมอง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์แมตเตอร์ สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
ส่วนไขสันหลังนั้นจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้ม ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflex action)
2.     ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system) ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ
 1.3  ระบบสืบพันธ์ (Reproductive System)
ระบบสืบพันธ์เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
1.3.1    อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1.     อัณฑะ (testis) ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมนเพศชาย
2.     ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการส้รางตัวอสุจิ
3.     หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis) ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ
4.     หลอดนำตัวอสุจิ (vas deferens) ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บที่ต่อมน้ำเลี้ยงอสุจิ
5.     ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ
6.     ต่อมลูกหมาก (prostate gland)  ทำหน้าที่หลั่งสารที่มี่ฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ
7.     ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glands) ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
1.3.2    อวัยวะสืบพันธุ์
1.     รังไข่ (Ovary) รูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
2.     ท่อนำไข่ (Oviduct) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
3.     มดลูก (Uterus) เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4.     ช่องคลอด (Vagina) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้ามดลูก
  1.4  ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) เป็นระบบที่ผลิตสารเรียกว่าฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิดจึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ
ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
1.     ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูกและสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ
2.     ต่อมหมวกไต (adrenal gland) สร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน สร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาอาหาร
3.     ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin)
4.     ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด
5.     ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน
6.     รังไข่ (Ovary)ในเพศหญิง และอัณฑะ (Testis)ในเพศชาย
7.     ต่อมไทมัส (Thymus gland) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย


                                                                                     ปาณิสรา จันทร์นวล ม.6/2 เลขที่ 27



ประวัติความเป็นมาของ  "กีฬาลีลาศ" และ สหพันธ์กีฬาลีลาศแห่งทวีปเอเชีย (ADSF) 

        การลีลาศ หรือ การเต้นรำ ถือเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในแต่ละประเทศจะมีจังหวะการเต้นรำของตัวเอง
          
         ต่อมาได้มีการ รวบรวมการเต้นรำจากหลายประเทศ มาวางรูปแบบให้เป็นมาตรฐาน และแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ Standard และ Latin American ซึ่งมีการใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะในทวีปยุโรป และมีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อบริหารจัดการในระดับนานาชาติ ที่สำคัญแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม WD&DSC ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นครูลีลาศและนักลีลาศอาชีพ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนกลุ่ม IDSF ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักลีลาศสมัครเล่น มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์
         ในปี 1991 ได้มีกลุ่มนักธุรกิจนำโดย นายจรัญ เจียรวนนท์ ได้รวบรวมกลุ่มนักธุรกิจ ก่อตั้งสมาคมลีลาศสมัครเล่นประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศ โดยมีนายสุชัย เพียรพัฒนางกูร เป็นอุปนายกดูแลงานด้านการต่างประเทศ และได้เข้าเป็นสมาชิกของ IDSF ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ หลังจากเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติหลายครั้ง จึงได้ทราบว่า วิธีเดียวที่จะส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศให้สำเร็จ คือ จะต้องผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรองว่าการลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากมีการออกกำลังกายจำนวนมาก ยื่นขอให้โอลิมปิกสากลรับรอง และการจะให้โอลิมปิกสากลรับรอง ก็มีเงื่อนไขมากมาย
         หลังจากการ ประชุมระดับนานาชาติแล้ว ทางอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ ก็ได้เริ่มทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลีลาศ รวมทั้งการเดินทางไปในหลายประเทศ ที่เป็นต้นกำเนิดของจังหวะการลีลาศ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ประเทศบราซิล และประเทศออสเตรีย จึงทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น จากนั้น ก็ได้หาข้อมูลว่าโอลิมปิกสากลมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หลังจากศึกษารายละเอียดแล้วสรุปได้ว่า มีเงื่อนไขที่สำคัญมากอยู่ 2 ประการคือ

         1.
ต้องเป็นสิ่งที่แพร่หลายในหลายทวีปทั่วโลก ไม่ใช่แพร่หลายเฉพาะในทวีปยุโรป
         2.
ต้องมีองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว สามารถจัดการควบคุมองค์กรสมาชิกได้ทั่วโลก ไม่ใช่มี 2 องค์กร และขัดแย้งกันมาก เช่น IDSF และ WD&DSC
         
            ทางอุปนายกฝ่าย ต่างประเทศ จึงได้มีแนวความคิดว่า การลีลาศแพร่หลายมากเฉพาะในทวีปยุโรป IDSF และ WD&DSC ต่างก็ขัดแย้งกันมาก ซึ่งผิดเงื่อนไขของโอลิมปิกสากล จึงไม่มีทางที่โอลิมปิกสากลจะให้การรับรอง แต่ถ้าสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น และกระจายไปในทุกทวีปทั่วโลก จะทำให้มีความสามารถในการผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรอง IDSF ได้ง่ายขึ้น
         ในปี 1994 นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้ติดต่อหารือกับประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน ถึงแนวความคิดที่จะก่อตั้ง สหพันธ์กีฬาลีลาศแห่งทวีปเอเชีย (ADSF) ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเห็นด้วย และมีการปรึกษาหารือกันหลายครั้งในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และฝรั่งเศส เพื่อทำความเข้าใจและขอเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกทั่วโลก ในการก่อตั้ง ADSF ซึ่งมีอุปสรรคปัญหามากมาย รวมทั้งการแก่งแย่งกันเป็นผู้นำในทวีปเอเชีย และการไม่ต้องการให้มีการแยกตัวไปตั้ง ADSF จึงต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ในการประชุมหลายประเทศ จนได้รับการอนุมัติจากการประชุม IDSF ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้งสำเร็จในการประชุมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี ในปี 1996 และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม ต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก ทางประเทศสมาชิกจึงสนับสนุนให้ นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร ขึ้นเป็นประธานก่อตั้งของ ADSF
         หลังจากนั้น จึงได้เริ่มเพิ่มจำนวนสมาชิกอีกหลายสิบประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย และทวีปอื่นๆทั่วโลก ขณะเดียวกัน ADSF ก็เริ่มวางกฎระเบียบการแข่งขัน การฝึกอบรมกรรมการตัดสินให้เป็นมาตรฐาน และติดต่อประสานงาน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกของโอลิมปิกคอมมิตี้เอเชีย (OCA) โดยได้รับความสนับสนุนและร่วมมือเต็มที่จาก MR.WEI JI ZHONG จึงทำให้ ADSF มีความเข้มแข็งมากในทวีปเอเชีย และได้ร่วมมือกับ IDSF ในการผลักดันให้ IOC รับรอง แต่ยังติดปัญหาการคัดค้านจาก WD&DSC นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เสนอในที่ประชุม IDSF ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ให้ WD&DSC เข้าเป็น Associate Member หรือสมาชิกร่วม เพื่อให้ IOC รับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่ง WD&DSC เห็นด้วย
         นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เริ่มขอเสียงสนับสนุนจาก IOC Member ในทวีปเอเชีย ไปรวมกับเสียงของ IOC Member ในทวีปยุโรป ให้การสนับสนุนลีลาศเป็นกีฬา โดยมี IDSF เป็นองค์กรหลักในการควบคุม ซึ่งประสพความสำเร็จในที่ประชุม IOC เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต้นปี 1998
         ต่อมาได้รับทราบ จาก IOC Member ในทวีปยุโรปว่า ถึงแม้จะได้รับการรับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง แต่อย่าหวังจะได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เนื่องจาก IOC มีนโยบายจะลดจำนวนประเภทกีฬา และยังมีกีฬาจำนวนมากที่ขอเข้าแข่งขัน แต่ไม่ได้รับการพิจารณา
         นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงมีความคิดว่า ถ้าวันนี้ไม่มีโอกาส การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอนาคตคงจะยาก จึงมีความคิดว่า ถ้าสามารถผลักดันให้เข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ หรือกีฬาโอลิมปิกของทวีปเอเชียไว้เป็นพื้นฐานอนาคต ถ้าโอลิมปิกสากล IOC มีนโยบายเพิ่มประเภทกีฬา ก็จะสามารถบรรจุเข้าแข่งขันได้เลย จากนั้น จึงได้เริ่ม Lobby IOC Member ในทวีปเอเชีย ให้สนับสนุนกีฬาลีลาศเข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ จนกระทั่งประสพความสำเร็จ OCA อนุมัติให้กีฬาลีลาศบรรจุเข้าเป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เมื่อปลายปี 1998 ที่กรุงเทพฯ
         สหพันธ์กีฬา ลีลาศนานาชาติ (IDSF) ได้ประกาศว่า เป็นครั้งแรกในโลกที่กีฬาลีลาศ ได้รับการบรรจุเข้าแข่งขัน ในการแข่งขันของกลุ่มโอลิมปิกสากล ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กีฬาลีลาศ มีโอกาสบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในอนาคต

                                                                                                      ปาณิสรา จันทร์นวล ม.6/2 เลขที่ 27

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น