วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย คืออะไร ?

   ความรู้ความคิด ความเชื่อที่กลมกลืนกับวิถีชีวิตแบบไทยนั้น ล้วนมาจากบรรพบุรุษไทยที่ท่านได้ถ่ายทอดมาสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน เช่น การสร้างเรือนได้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ตลอดจนอาหารไทย สมุนไพร การนวดแผนไทย อักษรไทย การร่ายรำ เพลงกล่ิอมเด็กที้เป็นเอกลักษณ์ ฯลฯ สิ่งเหล่านีี้เป็นวัฒนธรรมสืบทอดมาจนปัจจุบัน เป็นที่รู้จักของชาวโลก อันเป็นความชาญฉลาดในการสร้างสรรค์งานที่เราเรียกว่า ภูมิปัญาไทย

มนุษย์ได้เลือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย ทำมาหากินมาเป็นเวลาช้านาน
ได้เรียนรู้ พร้อมทั้งสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เหมาะสม อันนเนื่องมาจากการปรับตัว ได้สั่งสม ปรับเปลี่ยน
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน สิ่งเหล่านี้เจึงเป็นภูมิปัญญาของไทยที่ได้สั่งสม สืบทอดเป็นมรดก เพื่อใช้ใน
การดำเนินชีวิตจนถึงทุกวันนี้



ความหมายของคำว่า ภูมิปัญญา และคำที่เกี่ยวข้อง
  ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง พื้นความรู้ความสามารถ นอกจากนี้ ยังมีคำที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาหลากหลาย อาทิเช่นภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญา ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้ทรงคุณภูมิปัญาไทย และ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น 


ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา เก็บรวบรวมความรู้
และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย


   ประเภทของภูมิปัญญา
         
 

   ภูมิปัํญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น
       

 1. ภูมิปัญญาระดับชาติ เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
เช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจึุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม             
 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข



    ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
         ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
 
1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief) และพฤติกรรม (Behavior)
 2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับ
สิ่งเหนือธรรมชาติ
 3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
 4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอด
ของบุคคล ชุมชน และสังคม
 5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
 6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
 7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา


   คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญญาไทย
      

 1. เป็นผู้มีคุณธรรม ได้การยอมรับจากบุคคลทั่วไป มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาชีพ การพัฒนา
ท้องถิ่น และเป็นผู้ใช้หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต
 2. ขยันหมั่นเพรียร ไฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ได้ลงมือทอลองทำตามสิ่งที่ได้ศึกษา จนประสบความสำเร็จ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ชัดเจน ไปปรับปรุงใช้ในชุมชนสังคมอยู่เสมอ
 
3. เป็นผู้นำท้องถิ่น คนในสังคมให้การยอมรับยกย่องนับถือ ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นอย่างดี สนใจแก้ไข
ปัญหาท้แองถิ่น หาทางช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างดี
 4. เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น ทำให้คนในท้องถิ่นเกิดความรัก ความเข้าใจ
ความเห็นอกเห็นใจ และมีความสามัคคี ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นหรือสังคมมีความเจริญ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้คนในท้องถิ่นผลฃิตผลงานที่มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับ
 5. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ เป็นวิทยากรรับเชิญไปภายนอก หรือมีประชาชนเข้ามาชม
ผลงาน และถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจเป็นอย่างดี
 6. เป็นผู้มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ ได้รับการยกย่อง สามารถสร้างผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จนได้รับการยอมรับจากสาธารณชน 






 
สาขาภูมิปัญญาไทย
        การกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่าง ๆโดยภาพรวมภูมิปัญญา
ไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขา ดังนี้
    
   1. สาขาเกษตร
        2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
       
 3. สาขาแพทย์แผนไทย
        4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        5. สาขาภาษาและวรรณกรรม
        6. สาขาศิลปกรรม
        7. ศาสนาและประเพณี
        8. สาขาการจัดการองค์กร
        9. สาขาสวัสดิการ
        10. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน


ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
          คุณค่าของภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากบรรพบุรุษุที่ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ให้ชาติบ้านเมือง มีการดำรงชีวิตที่อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจเพื่อสืบสานไปสู่อานาคต สรุปความสำคัญได้ดังนี้
     1. สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน
     2. สร้างความภาคภูมิใจ และเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของความเป็นไทย
         มวยไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ปัจจุบันมีค่ายมวยอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
         ภาษาและวรรณกรรม ช่ไทยมีภาษาผูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง วรรณกรรมเป็นที่รู้จัก
มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สุนทรภู่เป็นนักปราชญ์ทางวรรณกรรมบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจาก
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒฯธรรมแห่งประชาชาติื (ยูเนสโก) เป็นกวีเอกของโลก
         อาหารไทย เป็นอาหารที่ชาวต่างชาติชื่นชอบและรู้จักกันแพร่หลาย อาทิเช่น ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ เป็นต้น
         สมุนไพรไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาประเทศ จนบาง ประเทศนำสมุนไพรไทยไปจดเป็น
ลิขสิทธิ์ของตนเอง
     3. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ทำให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน ให้อภัยกัน
     4. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต เช่น อาหารไทย มักเป็นอาาหาร หวาน มันมีกะทิเป็น
ส่วนประกอบ หากรัปทานมากก็จะทำให้เกิดท้องอืดได้ ดังนั้น จึงมีการนำพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูดมาใส่เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
     5. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย
ในยุคสมัย ได้มีการพัฒนาไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น คนในสมัยก่อนใช้เรือพาย เป็นพาหนะในการเดินทาง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์แทนทำให้การเดินทางรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาการเดินทาง
ให้หลากหลาย
วิธีมาก เช่นรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟใต้ดิน เป็นต้น


  
  ภูมิปัญญาไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน 
        
   ทุกชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวได้ดำเนินขึ้นและสืบทอดโดยคน รุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชน เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การสร้างบ้านเรือน รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค ซึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน โรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพร การนวดไทยเพื่อบำบัด บรรเทาการเจ็บป่วย การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือการอยู่ไฟเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของผู้หญิงหลังคลอดบุตร เป็นต้น
        
   ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางการแพทย์ของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยัง ช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดการนำเข้ายารักษาโรค เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศที่เกินความจำเป็นให้ลดน้อยลง ซึ่งผลดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนไทยในชุมชนหรือท้องถิ่นต่างๆ รู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการรักษาดูแลสุขภาพ รวมถึงการพึ่งพาภูมมิปัญญาของแพทย์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

   ภูมิปัญญาไทยด้านสุขอนามัย
         ประวัติการแพทย์แผนไทย พอสรุปเป็นลำดับได้ดังนี้
          - สมัยอยุธยา การแพทย์แผนไทยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีการรวบรวมตำรับยาขึ้นเป็นครั้งแรก
         - สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้มี
การรวบรวมและ จารึกตำรายา ตำราการนวดตามศาลาราย มีรูปฤาษีดัดตนในบริเวณวัด
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบรมราชโชองการให้ผู้มีความรู้เรื่องสรรพคุณยา และผู้ชำนาญการรักษาโรค และผู้มีตำรายาเข้ามาถวาย โดยให้หมอหลวงพิจารณาคัดเลือก
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
         
         แนวทางการปฏิบัติ ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาด้านสุขอนามัย มีอยู่ 3 แนวทาง คือ
         1. ภูมิปัญญาด้านเภสัช
         2. ภูมิปัญญาด้านเวชกรรมไทย
         3. ภูมิปัญญาด้านการนวดแผนโบราณ

 การแพทย์แผนไทย เป็นการรวมศาสตร์เกี่ยวกับบำบัดโรค ทั้งการใช้ยาสมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกและโครงสร้าง โดยอิงกับความ เชื่อทางสังคม วัฒนธรรม และธรรมชาติ เป็นความรู้ที่ไม่มีเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับหมอรักษาวิธีใดได้ผลก็ใช้วิธีนั้นสืบต่อกันมา

       
การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น
การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
1.  การนวดแบบราชสำนัก
2.  การนวดแบบเชลยศักดิ์
การนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท  และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง เป็นต้น


กระประคบสมุนไพร
เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้


น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ
น้ำ สมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ


การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค
เป็น วิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ


กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน
เป็น ภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้



ปาณิสรา จันทร์นวล ม.6/2  เลขที่ 27


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น